วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประวัติส่วนตัว


ภาพดุ๊กดิ๊ก อีโมชั่น  การ์ตูนน่ารัก ภาพเคลื่อนไหวภาพกลิตเตอร์  269804_5194816 แต่ง hi5 ชื่อ พรรณนิภา สมพรสุขสวัสดิ์

ภาพดุ๊กดิ๊ก อีโมชั่น  การ์ตูนน่ารัก ภาพเคลื่อนไหวภาพกลิตเตอร์  yociexp118 แต่ง hi5 ชื่อเล่น ฉ่าย

ภาพดุ๊กดิ๊ก อีโมชั่น  การ์ตูนน่ารัก ภาพเคลื่อนไหวภาพกลิตเตอร์  baozi10 แต่ง hi5 เกิด วันที่ 29 สิงหาคม 2538

ภาพดุ๊กดิ๊ก อีโมชั่น  การ์ตูนน่ารัก ภาพเคลื่อนไหวภาพกลิตเตอร์  yenta4-emoticon-0027 แต่ง hi5 กรุ๊ปเลือด A

ภาพดุ๊กดิ๊ก อีโมชั่น  การ์ตูนน่ารัก ภาพเคลื่อนไหวภาพกลิตเตอร์  269804_5194793 แต่ง hi5  ผลไม้ที่ชอบ แตงโม

ภาพดุ๊กดิ๊ก อีโมชั่น  การ์ตูนน่ารัก ภาพเคลื่อนไหวภาพกลิตเตอร์  297359_5809436 แต่ง hi5 สีที่ชอบ ฟ้า
ภาพดุ๊กดิ๊ก อีโมชั่น  การ์ตูนน่ารัก ภาพเคลื่อนไหวภาพกลิตเตอร์  aemoticon-0005 แต่ง hi5

คติประจำใจ ทำทุกวันให้ดีที่สุด

วิธีการทำขนมลอดช่อง



  



ลอดช่องน้ำกะทิ (ลอดช่องไทย) ขนมไทยโบราณที่มีความหวาน มัน เย็นชื่นใจ ขนมลอดช่องยังนิยมทำในงานมงคลต่างๆ เช่น งานแต่งงาน เป็นต้น โดยขนมลอดช่องมีความหมายว่าให้คู่บ่าวสาวมีความรักยืนยาว เมื่อมีอุปสรรคใดๆ ก็ให้สามารถผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆไปได้ด้วยดี มาถึงปัจจุบันก็หากินได้ง่ายขึ้นตามท้องตลาด แถมทำทานเองก็ไม่ยากเลยค่ะ ขนมลอดช่องที่อร่อยตัวลอดช่องจะต้องมีลักษณะเหนียว หนึบ หอมใบเตย และมีกลิ่นน้ำปูนใส ส่วนน้ำกะทิต้องคั้นจากมะพร้าวสดๆ และใช้น้ำน้อยในการคั้น ก็จะได้หัวกะทิที่สด มัน และหอม ส่วนน้ำตาลนั้นเราสามารถใช้น้ำตาลมะพร้าว หรือน้ำตาลปี๊บก็ได้

ส่วนประกอบและเครื่องปรุงลอดช่องน้ำกะทิ (ลอดช่องไทย)
1.แป้งข้าวเจ้า 2 ถ้วย
2. แป้งท้าวยายม่อม 12 ถ้วย (หากไม่มีใช้แป้งมันสำปะหลังแทนได้)
3. น้ำปูนใส 3 ถ้วย
4. ใบเตย 25-30 ใบ
5. แป้งถั่วเขียว 2 ช้อนโต๊ะ

ส่วนประกอบและเครื่องปรุงน้ำกะทิ
1.มะพร้าวขูดประมาณ 5 ถ้วย
2. น้ำปูนใส 1 ถ้วย
3. น้ำตาลปึกประมาณ 300 – 500 กรัม (หรือน้ำตาลมะพร้าว ในอัตราส่วนที่เท่าๆกันกับกะทินะคะ)
4. เกลือป่น 1 ช้อนชา
5. เทียนอบ

ขั้นตอนและวิธีทําลอดช่องน้ำกะทิ (ลอดช่องไทย)
1. นำใบเตยหั่นหยาบๆ นำลงไปโขลกในครกให้ละเอียด และเติมน้ำเปล่า 3/4 ถ้วย 
2. นำใบเตยที่โขลกได้ไปใส่ในผ้าขาวบาง บีบเอาน้ำใบเตยออกให้ได้น้ำใบเตย 3/4 ถ้วย เสร็จแล้วพักไว้
3. นำมะพร้าวขูดมานวดด้วยมือจนหัวกะทิเริ่มออกมา และเติมน้ำปูนใสประมาณ 1 ถ้วยลงไป แล้วนวดต่อไป
4. ใส่มะพร้าวขูดที่นวดแล้วลงในผ้าขาวบาง จากนั้นบีบให้ได้หัวกะทิประมาณ 2-3 ถ้วย
5. นำหัวกะทิที่ได้มาผสมกับน้ำตาลปึกในอัตราส่วนเท่าๆกัน จากนั้นให้เติมเกลือป่น 1 ช้อนชาลงไป ใช้มือผสมหัวกะทิและน้ำตาลปึกให้เข้ากันดี 
6. จุดเทียนหอมแล้วใส่ลงในถ้วย โดยให้เอียงตัวเทียนประมาณ 45 องศา เพื่อให้ตัวเทียนติดไฟได้ง่าย นำถ้วยที่ใส่เทียนหอมวางลอยในถ้วยน้ำกะทิ แล้วปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที เพื่อให้น้ำกะทิมีกลิ่นหอม เสร็จแล้วพักไว้
7. ใส่แป้งข้าวเจ้า แป้งท้าวยายม่อม และแป้งถั่วเขียวลงในภาชนะ (หรือกระทะทองเหลือง) ใช้มือนวดแป้งทั้งสามชนิดให้เข้ากันดี 
8. เติมน้ำปูนใสลงไปทีละนิด นวดแป้งต่อไปจนแป้งเริ่มจับตัวเป็นก้อน เติมน้ำปูนใสลงไปอีกครั้งละนิดหน่อย นวดแป้งต่อไปจนกว่าแป้งจะเหนียว นวดประมาณ 5 นาที
9. เติมน้ำปูนที่เหลือทั้งหมดลงไป และละลายให้เข้ากับแป้ง
10. นำกระทะตั้งไฟโดยใช้ไฟแรง กวนแป้ง โดยให้กวนไปในทางเดียวกันจนแป้งเริ่มเหนียว จากนั้นเบาไฟลง ใส่น้ำใบเตยลงไปกวนต่อไปเรื่อยๆให้เข้ากัน
11. หลังจากกวนไปประมาณ 20  นาทีแล้ว แป้งจะเริ่มเงาขึ้น และสุกค่ะ (เพื่อจะดูว่าแป้งสุกดีหรือยัง ให้ใช้ช้อนตักแป้ง แล้วใส่ลงไปในน้ำเย็น ใช้มือจับแป้งดู ถ้าแป้งจับตัวดี และเหนียว แสดงว่าแป้งสุกแล้ว)
12. นำแป้งที่กำลังร้อนๆ ใส่ลงในพิมพ์กด กดแป้งเบาๆ จนแป้งหลุดออกจากช่องแล้วหล่นลงในน้ำเย็น ทิ้งตัวลอดช่องในน้ำเย็นจนแข็งตัวดี (พิมพ์กดลอดช่องมีขายนะคะ แต่ถ้าบ้านไหนไม่มีเครื่องกดก็ไม่ต้องห่วง เพราะว่าสามารถเอาผ้าขาวบางมาเจาะรูแล้วบีบแทนก็ได้ หรือ หากระป๋องผลไม้มาเจาะรูและเอาขวดที่ล้างสะอาดกดก็ได้ ถ้ากลัวยุ่งยากก็ใช้ช้อนหยอดลงไปโดยตรงก็ได้เช่นกัน) 
13. ตักตัวลอดช่องใส่ถ้วยราดน้ำกะทิและน้ำแข็งป่น เป็นอันเสร็จเรียบร้อย หรือจะทานเคียงกับเผือกนึ่ง, ข้าวเหนียวดำ, ขนุน, แตงไท อื่นๆ อร่อยดับร้อนกันทั้งครอบครัว





วิธีการทำขนมข้าวหมาก


   


ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าข้าวอยู่คู่กับวิถีการดำรงชีวิตคน ไทยมาอย่างช้านาน ไม่เพียงแค่นำข้าวมาเป็นอาหารเท่านั้น แต่ด้วยคุณสมบัติพิเศษเกินตัวของข้าวจึงทำให้คนโบราณนำข้าวมาต่อยอดทางภูมิปัญญาเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงการแปรสภาพข้าวให้เป็น ข้าวหมากขนมหวานไทยโบราณที่ตอนนี้นับวันยิ่งจางหายไป
รู้จัก โปรไบโอติกแบบไทย
เมื่อเอ่ยถึง ข้าวหมาก จะว่าไปแล้วตั้งแต่เหนือจรดใต้ ในงานสำคัญ งานมงคลต่างๆ ต้องมีสิ่งนี้อยู่แทบจะทุกวาระสำคัญ แต่กับเด็กยุคปัจจุบันคงส่ายหน้าหากถามถึง และเพื่อความกระจ่างในข้อมูลที่น่าทึ่งเกี่ยวกับข้าวหมากนั้น
การปรับกลไกจุลินทรีย์ในร่างกายให้มีความสมดุล
ทำให้ร่างกายสามารถสร้างเชื้อธรรมชาติในกระเพาะและลำไส้ที่ช่วยให้การย่อยดีขึ้น
สร้างวิตามินเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ อีกทั้งยังเป็นตัวต้านสารอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันต่างๆแก่ร่างกาย
ทั้งยังช่วยป้องกันมะเร็งอีกด้วย

ส่วนผสมข้าวหมาก
ข้าวเหนียว  ½ กิโลกรัม
แป้งข้าวหมาก  1 ช้อนโต๊ะ
ใบตอง
ใบทางมะพร้าว
ไม้กลัด

วิธีทำข้าวหมาก
1. ซาวข้าวเหนียวให้สะอาด แล้วแช่น้ำทิ้งไว้หนึ่งคืน
2. นำข้าวไปนึ่งให้สุก ทิ้งไว้จนเย็น
3. นำข้าวที่สุกแล้วไปซาวน้ำอีกครั้ง แล้วผึ่งไว้จนแห้ง
4. บดแป้งข้าวหมากให้ละเอียด แล้วคลุกกับข้าวเหนียว  ใช้ใบตองสองแผ่นซ้อนกัน ตักข้าวเหนียวที่หมักแล้วใส่ห่อละ 2 ช้อนโต๊ะ
5. นำทางมะพร้าวมาห่อ กลัดไม้กลัด ทิ้งไว้ 2 – 3 วัน แล้วนำมารับประทานได้





วิธีการทำขนมข้าวต้มมัด


  


ข้าวต้มมัด หรือ ข้าวต้มผัด เป็นขนมชนิดหนึ่งที่ทำด้วยข้าวเหนียวผัดกับกะทิ แล้วนำไปห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าวอ่อน ใส่ไส้กล้วย นำไปนึ่งให้สุก ทางภาคใต้ใช้ข้าวเหนียวกับน้ำกะทิ ห่อด้วยใบพ้อ เรียกห่อต้ม ถ้าห่อด้วยใบมะพร้าว และมัดด้วยเชือกเรียกห่อมัด ขนมแบบเดียวกับข้าวต้มยังพบในประเทศอื่นอีก เช่นในฟิลิปปินส์เรียก อีบอส หรือ ซูมัน ที่แบ่งย่อยได้หลายชนิดเช่นเดียวกับข้าวต้มมัดของไทย 
ข้าวต้มมัดอีกชนิดหนึ่งเรียก ข้าวต้มลูกโยน เป็นขนมที่ใช้ในเทศกาลออกพรรษา ห่อด้วยใบพ้อหรือยอดมะพร้าวเป็นรูปรี ข้างในเป็นข้าวเหนียวผสมถั่วดำไม่มีไส้ ผูกเข้าด้วยกันเป็นพวงแล้วนำไปต้ม ส่วน ข้าวต้มมัดไต้ เป็นข้าวต้มที่ห่อแล้วมัดให้มีลักษณะเหมือนไต้ที่ใช้จุดไฟ ไส้เป็นถั่วทองโขลกกับรากผักชี กระเทียม พริกไทย ใส่หมู มันหมู ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำ น้ำตาลทราย ห่อด้วยใบตองเป็นแท่ง มัดเป็นเปลาะ 4-5 เปลาะ แล้วนำไปต้ม บางท้องที่ใช้เป็นขนมไหว้เจ้าในเทศกาลตรุษจีนและสารทจีนด้วย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกข้าวต้มมัดว่า ข้าวต้มกล้วย ใช้ข้าวเหนียวดิบมาห่อ ปรุงรสด้วยเกลือนิดหน่อย ใส่ถั่วลิสงต้มสุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงห่อเป็นมัด ใส่ไส้กล้วย เอาไปต้มให้สุก ถ้าเป็นแบบผัด จะผัดข้าวเหนียวกับกะทิก่อนแล้วจึงห่อใส่ไส้กล้วย แล้วต้มให้สุก ถ้าต้องการหวานจะเอามาจิ้มน้ำตาล ส่วนทางภาคเหนือนิยมนำข้าวต้มมัดที่สุกแล้วมาหั่นเป็นชิ้นๆ คลุกกับมะพร้าวขูด โรยน้ำตาลทราย เรียก ข้าวต้มหัวหงอก ในประเทศลาวมีข้าวต้มมัดเช่นเดียวกันเรียกว่า "เข้าต้ม" ไส้เค็มใส่มันหมูกับถั่วเขียว ไส้หวานใส่กล้วย
ข้าวต้มมัดทางภาคใต้ไม่มีไส้ เป็นข้าวเหนียวผัดกับกะทิ ใส่ถั่วขาว ไม่นิยมใช้ถั่วดำ ออกรสเค็มเป็นหลัก ถ้าต้องการให้มีรสหวานจะเอาไปจิ้มน้ำตาลและมีขนมชนิดหนึ่งเรียก ข้าวต้มญวน มีลักษณะคล้ายข้าวต้มมัดแต่ห่อใหญ่กว่า ทำให้สุกด้วยการต้ม เมื่อจะรับประทานจะหั่นเป็นชิ้นๆ คลุกกับมะพร้าวขูด เกลือและน้ำตาลทราย

ส่วนผสมข้าวต้มมัด

  1. ข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม
  2. เกลือ 3 ช้อนโต๊ะ
  3. กล้วยน้ำว้า 1 หวี
  4. เผือกนึ่งแล้วบด 1 กิโลกรัม
  5. กะทิข้น 1 ถ้วยตวง
  6. หัวกะทิ 3 ถ้วยตวง
  7. น้ำตาลทราย 1 3/4 ถ้วยตวง
  8. ถั่วดำต้มแล้ว 300 กรัม
  9. น้ำตาลทราย 3 ถ้วยตวง
  10. เครื่องห่อ ตอก, ใบตอง


วิธีทำข้าวต้มมัด

แช่ข้าวเหนียวในน้ำอย่างน้อย 3 ชั่วโมงผสมกะทิ เกลือคนให้เข้ากัน ตั้งไฟพอเดือดใส่น้ำตาลทรายลงกวนให้เข้ากัน จนกระทั่งพอเริ่มแห้ง ยกลง
ฉีกใบตอง ขนาด 8 นิ้ว , 7 นิ้ว สองขนาดวางซ้อนกัน หยิบข้าวเหนียวที่ผัดได้ที่แล้วใส่กล้วยผ่าตามยาวครึ่งลูก หรือไส้เผือกกวน วางข้าวเหนียวทับไส้ให้มิดบาง ๆ ใส่ถั่วดำ ห่อข้าวต้มให้สวยงาม มัดด้วยตอกหรือเชือกให้แน่น ประกบคู่มัดเป็นสองช่วงหัวท้าย
นึ่งข้าวต้มที่ห่อแล้วประมาณ 45 นาที หรือ 1 ชั่วโมง จนข้าวเหนียวสุก



วิธีการทำขนมข้าวจี่

  

ข้าวจี่ เป็นขนมพื้นบ้านของภาคอีสาน ทำจากข้าวเหนียวนึ่งทาเกลือ ปั้นเป็นรูปกลมหรือรีเสียบไม้นำไปย่างบนเตาถ่าน ไฟอ่อนพอเกรียมนำมาชุบไข่ แล้วนำไปย่างใหม่จนเหลือง ดึงไม้ที่เสียบไว้ออก ยัดน้ำตาลอ้อยเข้าไปแทน น้ำตาลจะละลายเป็นไส้ และนิยมทำกันมากในช่วงเดือนสามของทุกปี ซึ่งจะมีการทำข้าวจี่ไปทำบุญในงานประเพณีบุญข้าวจี่ อาจเป็นเพราะข้าวเหนียวจะเสียเร็วในตอนกลางวัน สมัยก่อนข้าวเหนียวจึงถูกทำเป็นข้าวจี่แล้วห่อใบตองไปกินเป็นอาหารตอนทำนาหรือเดินทางไกล เพราะสามารถเก็บได้นานขึ้น
ทางภาคเหนือ มีข้าวจี่เช่นเดียวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพียงแต่จะเพิ่มกะทิเข้ามาด้วย เดือนสี่ทางเหนือซึ่งตรงกับราว ๆ เดือนมกราคมของภาคกลาง (การนับเดือนของทางเหนือจะเร็วกว่าภาคกลาง 2 เดือน) จะนำข้าวจี่กับข้าวหลามไปทำบุญตักบาตร เรียกว่า บุญข้าวจี่ข้าวหลาม ข้าวจี่อีกชนิดหนึ่งของทางภาคเหนือ เป็นการอุ่นข้าวเหนียวเปล่า มักจะทำกินกันตอนน้ำท่วม โดยการนำข้าวเหนียวสุกที่เหลือจากมื้อก่อนหน้า (เรียกว่า ข้าวเย็น) มาเสียบไม้ ปั้นแผ่ให้บาง ปิ้งไฟพอเกรียมนิดหน่อยให้อุ่นหอม นิยมกินกับปลากระดี่ที่ควักไส้แล้วเสียบไม้ตากแห้ง (เรียกว่า ฮ้าแห้ง หรือ ปลาร้าแห้ง) ปิ้งไฟให้กรอบเกรียม นำมาโขลกป่นให้ละเอียด ผสมเกลือป่นเล็กน้อย หากเป็นเกลือเม็ดก็โขลกให้ป่นพร้อมปลาไปเลย เก็บใส่กระปุกไว้เป็นกับข้าวได้นาน การจี่ในภาษาเหนือจะไม่เหมือนกับภาษากลาง ซึ่งแบบภาคกลางจะหมายถึงการนาบอาหารกับกระทะ ในภาษาเหนือจะเรียก นาบ 
ประเทศลาวก็มีอาหารที่เรียกว่าข้าวจี่เช่นกัน ที่หลวงพระบางข้าวจี่คือขนมปังแท่งยาว ๆ แบบฝรั่งเศส นำมาผ่าซีก เสร็จแล้วนำไปใส่เครื่องเคียงต่าง ๆ เช่น แตงกวา ไข่เจียวตัดเป็นเส้น ๆ หมูยอ หมูหย็อง (คนลาวเรียกหมูฝอย) และปรุงรสด้วยซอสมะเขือเทศ ข้าวจี่ของลาวจะต่างจากข้าวจี่ทางภาคเหนือและอีสานของไทย

ส่วนประกอบ
1. ข้าวเหนียวหนึ่งสุก (ได้ข้าวเหนียวใหม่จะอร่อยมาก)
2. เกลือ
3. ไข่สด

วิธีทำ
1. นึ่งข้าวเหนียว
2.ปั้นข้าวเหนียว
3ปรุงไข่ที่เราเตรียมไว้
4 นำข้าวที่เราเตรียมไว้มาชุบกับไข่
5. นำข้าวไปจี่ให้ไข่สุก