วิธีการทำขนมลอดช่อง
ลอดช่องน้ำกะทิ (ลอดช่องไทย) ขนมไทยโบราณที่มีความหวาน มัน เย็นชื่นใจ
ขนมลอดช่องยังนิยมทำในงานมงคลต่างๆ เช่น งานแต่งงาน เป็นต้น
โดยขนมลอดช่องมีความหมายว่าให้คู่บ่าวสาวมีความรักยืนยาว เมื่อมีอุปสรรคใดๆ
ก็ให้สามารถผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆไปได้ด้วยดี
มาถึงปัจจุบันก็หากินได้ง่ายขึ้นตามท้องตลาด แถมทำทานเองก็ไม่ยากเลยค่ะ
ขนมลอดช่องที่อร่อยตัวลอดช่องจะต้องมีลักษณะเหนียว หนึบ หอมใบเตย
และมีกลิ่นน้ำปูนใส ส่วนน้ำกะทิต้องคั้นจากมะพร้าวสดๆ และใช้น้ำน้อยในการคั้น
ก็จะได้หัวกะทิที่สด มัน และหอม ส่วนน้ำตาลนั้นเราสามารถใช้น้ำตาลมะพร้าว
หรือน้ำตาลปี๊บก็ได้
ส่วนประกอบและเครื่องปรุงลอดช่องน้ำกะทิ
(ลอดช่องไทย)
1.แป้งข้าวเจ้า 2 ถ้วย
2. แป้งท้าวยายม่อม 1⁄2 ถ้วย (หากไม่มีใช้แป้งมันสำปะหลังแทนได้)
3. น้ำปูนใส 3 ถ้วย
4. ใบเตย 25-30 ใบ
5. แป้งถั่วเขียว 2 ช้อนโต๊ะ
2. แป้งท้าวยายม่อม 1⁄2 ถ้วย (หากไม่มีใช้แป้งมันสำปะหลังแทนได้)
3. น้ำปูนใส 3 ถ้วย
4. ใบเตย 25-30 ใบ
5. แป้งถั่วเขียว 2 ช้อนโต๊ะ
ส่วนประกอบและเครื่องปรุงน้ำกะทิ
1.มะพร้าวขูดประมาณ 5 ถ้วย
2. น้ำปูนใส 1 ถ้วย
3. น้ำตาลปึกประมาณ 300 – 500 กรัม (หรือน้ำตาลมะพร้าว ในอัตราส่วนที่เท่าๆกันกับกะทินะคะ)
4. เกลือป่น 1 ช้อนชา
5. เทียนอบ
2. น้ำปูนใส 1 ถ้วย
3. น้ำตาลปึกประมาณ 300 – 500 กรัม (หรือน้ำตาลมะพร้าว ในอัตราส่วนที่เท่าๆกันกับกะทินะคะ)
4. เกลือป่น 1 ช้อนชา
5. เทียนอบ
ขั้นตอนและวิธีทําลอดช่องน้ำกะทิ (ลอดช่องไทย)
1. นำใบเตยหั่นหยาบๆ
นำลงไปโขลกในครกให้ละเอียด และเติมน้ำเปล่า 3/4 ถ้วย
2. นำใบเตยที่โขลกได้ไปใส่ในผ้าขาวบาง บีบเอาน้ำใบเตยออกให้ได้น้ำใบเตย 3/4 ถ้วย เสร็จแล้วพักไว้
3. นำมะพร้าวขูดมานวดด้วยมือจนหัวกะทิเริ่มออกมา และเติมน้ำปูนใสประมาณ 1 ถ้วยลงไป แล้วนวดต่อไป
4. ใส่มะพร้าวขูดที่นวดแล้วลงในผ้าขาวบาง จากนั้นบีบให้ได้หัวกะทิประมาณ 2-3 ถ้วย
5. นำหัวกะทิที่ได้มาผสมกับน้ำตาลปึกในอัตราส่วนเท่าๆกัน จากนั้นให้เติมเกลือป่น 1 ช้อนชาลงไป ใช้มือผสมหัวกะทิและน้ำตาลปึกให้เข้ากันดี
6. จุดเทียนหอมแล้วใส่ลงในถ้วย โดยให้เอียงตัวเทียนประมาณ 45 องศา เพื่อให้ตัวเทียนติดไฟได้ง่าย นำถ้วยที่ใส่เทียนหอมวางลอยในถ้วยน้ำกะทิ แล้วปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที เพื่อให้น้ำกะทิมีกลิ่นหอม เสร็จแล้วพักไว้
7. ใส่แป้งข้าวเจ้า แป้งท้าวยายม่อม และแป้งถั่วเขียวลงในภาชนะ (หรือกระทะทองเหลือง) ใช้มือนวดแป้งทั้งสามชนิดให้เข้ากันดี
8. เติมน้ำปูนใสลงไปทีละนิด นวดแป้งต่อไปจนแป้งเริ่มจับตัวเป็นก้อน เติมน้ำปูนใสลงไปอีกครั้งละนิดหน่อย นวดแป้งต่อไปจนกว่าแป้งจะเหนียว นวดประมาณ 5 นาที
9. เติมน้ำปูนที่เหลือทั้งหมดลงไป และละลายให้เข้ากับแป้ง
10. นำกระทะตั้งไฟโดยใช้ไฟแรง กวนแป้ง โดยให้กวนไปในทางเดียวกันจนแป้งเริ่มเหนียว จากนั้นเบาไฟลง ใส่น้ำใบเตยลงไปกวนต่อไปเรื่อยๆให้เข้ากัน
11. หลังจากกวนไปประมาณ 20 นาทีแล้ว แป้งจะเริ่มเงาขึ้น และสุกค่ะ (เพื่อจะดูว่าแป้งสุกดีหรือยัง ให้ใช้ช้อนตักแป้ง แล้วใส่ลงไปในน้ำเย็น ใช้มือจับแป้งดู ถ้าแป้งจับตัวดี และเหนียว แสดงว่าแป้งสุกแล้ว)
12. นำแป้งที่กำลังร้อนๆ ใส่ลงในพิมพ์กด กดแป้งเบาๆ จนแป้งหลุดออกจากช่องแล้วหล่นลงในน้ำเย็น ทิ้งตัวลอดช่องในน้ำเย็นจนแข็งตัวดี (พิมพ์กดลอดช่องมีขายนะคะ แต่ถ้าบ้านไหนไม่มีเครื่องกดก็ไม่ต้องห่วง เพราะว่าสามารถเอาผ้าขาวบางมาเจาะรูแล้วบีบแทนก็ได้ หรือ หากระป๋องผลไม้มาเจาะรูและเอาขวดที่ล้างสะอาดกดก็ได้ ถ้ากลัวยุ่งยากก็ใช้ช้อนหยอดลงไปโดยตรงก็ได้เช่นกัน)
13. ตักตัวลอดช่องใส่ถ้วยราดน้ำกะทิและน้ำแข็งป่น เป็นอันเสร็จเรียบร้อย หรือจะทานเคียงกับเผือกนึ่ง, ข้าวเหนียวดำ, ขนุน, แตงไท อื่นๆ อร่อยดับร้อนกันทั้งครอบครัว
2. นำใบเตยที่โขลกได้ไปใส่ในผ้าขาวบาง บีบเอาน้ำใบเตยออกให้ได้น้ำใบเตย 3/4 ถ้วย เสร็จแล้วพักไว้
3. นำมะพร้าวขูดมานวดด้วยมือจนหัวกะทิเริ่มออกมา และเติมน้ำปูนใสประมาณ 1 ถ้วยลงไป แล้วนวดต่อไป
4. ใส่มะพร้าวขูดที่นวดแล้วลงในผ้าขาวบาง จากนั้นบีบให้ได้หัวกะทิประมาณ 2-3 ถ้วย
5. นำหัวกะทิที่ได้มาผสมกับน้ำตาลปึกในอัตราส่วนเท่าๆกัน จากนั้นให้เติมเกลือป่น 1 ช้อนชาลงไป ใช้มือผสมหัวกะทิและน้ำตาลปึกให้เข้ากันดี
6. จุดเทียนหอมแล้วใส่ลงในถ้วย โดยให้เอียงตัวเทียนประมาณ 45 องศา เพื่อให้ตัวเทียนติดไฟได้ง่าย นำถ้วยที่ใส่เทียนหอมวางลอยในถ้วยน้ำกะทิ แล้วปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที เพื่อให้น้ำกะทิมีกลิ่นหอม เสร็จแล้วพักไว้
7. ใส่แป้งข้าวเจ้า แป้งท้าวยายม่อม และแป้งถั่วเขียวลงในภาชนะ (หรือกระทะทองเหลือง) ใช้มือนวดแป้งทั้งสามชนิดให้เข้ากันดี
8. เติมน้ำปูนใสลงไปทีละนิด นวดแป้งต่อไปจนแป้งเริ่มจับตัวเป็นก้อน เติมน้ำปูนใสลงไปอีกครั้งละนิดหน่อย นวดแป้งต่อไปจนกว่าแป้งจะเหนียว นวดประมาณ 5 นาที
9. เติมน้ำปูนที่เหลือทั้งหมดลงไป และละลายให้เข้ากับแป้ง
10. นำกระทะตั้งไฟโดยใช้ไฟแรง กวนแป้ง โดยให้กวนไปในทางเดียวกันจนแป้งเริ่มเหนียว จากนั้นเบาไฟลง ใส่น้ำใบเตยลงไปกวนต่อไปเรื่อยๆให้เข้ากัน
11. หลังจากกวนไปประมาณ 20 นาทีแล้ว แป้งจะเริ่มเงาขึ้น และสุกค่ะ (เพื่อจะดูว่าแป้งสุกดีหรือยัง ให้ใช้ช้อนตักแป้ง แล้วใส่ลงไปในน้ำเย็น ใช้มือจับแป้งดู ถ้าแป้งจับตัวดี และเหนียว แสดงว่าแป้งสุกแล้ว)
12. นำแป้งที่กำลังร้อนๆ ใส่ลงในพิมพ์กด กดแป้งเบาๆ จนแป้งหลุดออกจากช่องแล้วหล่นลงในน้ำเย็น ทิ้งตัวลอดช่องในน้ำเย็นจนแข็งตัวดี (พิมพ์กดลอดช่องมีขายนะคะ แต่ถ้าบ้านไหนไม่มีเครื่องกดก็ไม่ต้องห่วง เพราะว่าสามารถเอาผ้าขาวบางมาเจาะรูแล้วบีบแทนก็ได้ หรือ หากระป๋องผลไม้มาเจาะรูและเอาขวดที่ล้างสะอาดกดก็ได้ ถ้ากลัวยุ่งยากก็ใช้ช้อนหยอดลงไปโดยตรงก็ได้เช่นกัน)
13. ตักตัวลอดช่องใส่ถ้วยราดน้ำกะทิและน้ำแข็งป่น เป็นอันเสร็จเรียบร้อย หรือจะทานเคียงกับเผือกนึ่ง, ข้าวเหนียวดำ, ขนุน, แตงไท อื่นๆ อร่อยดับร้อนกันทั้งครอบครัว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น